วันศุกร์ที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2556

จันผา...งามสง่าท้าทาย

จันผา...งามสง่าท้าทาย


     จันผา หรือ จันทน์ผา เป็นไม้พุ่ม สูงประมาณ 3-7 เมตร...ซื้อมาปลูกที่บ้านราคาตั้ง 500 บาท ที่แพงก็เพราะว่าอัตราการเจริญเติบโตของจันผานั้นช้ามาก ราคามันก็ขึ้นตามการเจริญเติบโตของมัน ยิ่งโตก็ยิ่งแพง นานมาแล้วเคยปลูกแต่มันได้ตายไปเพราะขาดความเอาใจใส่จากผู้ปลูก ก็นึกว่าจะไม่ตายเพราะโดยธรรมชาติของมัน เกิดและเติบโตอยู่ตามป่าเขาลำเนาไพร นึกว่าจะอึด แต่เขาบอกว่า ต้นจันผาสามารถปลูกได้ในดินเกือบทุกชนิด สามารถขาดน้ำได้เป็นเวลานาน ๆ แต่ที่มันตายนี่สงสัยขาดน้ำเป็นเวลานานเกินไปจนไม่อาจทนอยู่ได้ จันผาใบเป็นสีเขียวเข้ม จะแตกใบบริเวณยอด ต้นไม้ชนิดนี้อยู่ในตระกูลเดียวกันกับต้นวาสนา ดอกสีขาวนวลตรงกลางดอกมีจุดสีแดง มีกลิ่นหอม 

     เมื่อปลูกแล้วให้ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักปีหนึ่งสองหน...สามารถขยายพันธุ์โดยการปักชำได้ เป็นพืชที่ทนทานต่อการทำลายของโรคและพวกแมลงได้เป็นอย่างดี ต้นจันผานิยมปลูกไว้ที่สนาม สามารถทนเค็ม ทนแรงลม เพราะมีต้นที่แข็งแรง ด้วยรูปทรงของมันเอง มันจะดูโดดเด่นเป็นสง่ามาก อาจเป็นเพราะว่า เมื่อต้นโตจะแผ่กว้าง เปลือกต้นสีน้ำตาลหรือน้ำตาลอมเทา แตกเป็นร่องตามยาว และใบของจันผาเป็นใบเดี่ยว เรียงเวียนสลับถี่ ๆ ที่ปลายกิ่ง ใบรูปแถบยาวแคบ กว้าง 4-5 เซนติเมตร ยาว 45-60 เซนติเมตร ปลายใบแหลม

     สรรพคุณทางยานั้น ผู้รู้บอกว่า...ใช้เป็นส่วนประกอบในการปรุงน้ำยาอุทัย แก่นที่ราลง-มีสีแดง ใช้เป็นยาเย็น แก้ไข้ทุกชนิด แก้เหงื่อตก กระสับกระส่าย นิยมปลูกประดับไว้ตามสนามหญ้าหรือใช้ตกแต่งร่วมกับสวนหิน เนื้อไม้ที่มีเชื้อราลงจะมีสีแดงเข้มเรียกว่า จันทน์แดง ใช้เป็นยาเย็นดับพิษไข้ บำรุงหัวใจ ฝนทาภายนอกแก้ฟกช้ำ ฝี บวม แก่นมีสรรพคุณบำรุงระบบภายในร่างกายคือหัวใจและ แก้เลือดออกตามไรฟัน

(หมายเหตุ ข้อมูลจาก http://th.wikipedia.org/, http://agkc.lib.ku.ac.th/plantwebsite/, http://www.wiparatfood.com/)

แหล่งที่มาของบทความ 

วันพฤหัสบดีที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2556

จันผา


จันผา 

จันทร์ผา เป็นไม้ป่าประเภทหนึ่งที่เกิดขึ้นในธรรมชาติ จันทร์ผามีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่ง จันทร์แดง หรือลักจั่น

จันทร์ผาจัดเป็นไม้ยืนต้น มีความสูงประมาณ 5-7 ฟุต ลำต้นแกร่ง เปลือกนอกลำต้นมีลักษณะเกลี้ยงเป็นสีเทานวล ลักษณะลำต้นตั้งตรงเป็นลำคล้ายหมาก ใบของจันทร์ผาจะแตกใบเป้น่ช่อเฉพาะส่วนยอด แต่อาจจะมีการแตกแขนงออกจากลำต้นใหญ่ได้อีก ลักษณะใบของจันทร์ผาจะมีลักษณะใบเรียวยาว ใบจันทร์ผาจะสีเขียวเข้มปลายใบจะแหลมเป็นรูปหอก ริมใบเรียบเกลี้ยง ส่วนก้านใบจะมีลักษณะเป็นกาบหุ้มซ้อนทับอยู่รอบ ๆ ต้นขนาดของใบจะยาวประมาณ 1.5-2 ฟุต มีความกว้างของใบราว 4-5 เซนติเมตร ดอกของจันทร์ผาจะออกดอกเป็นพวาง โดยแตกออกจากโคนก้านใบคล้ายกับจั่นหมากด้วยเหตุนี้เอง จันทร์ผา จึงมีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ลักจั่น หมายถึงต้นไม้ ที่ไม่ใช้ต้นหมากหรือมะพร้าวแต่สามารถออกดอกเป็นจั่นได้อย่างจั่นหมาก หรือจั่นมะพร้าว เข้าทำนองว่าคล้ายกับการไปลักจั่นหมากหรือจั่นมะพร้าวมาออกที่ต้นของมันได้นั่นเอง

จั่นดอกของจันทร์ผาพวงหนึ่ง ๆ จะมีดอกเล็ก ๆ มากมายหลายพันดอกในแต่ดอกจะมีกลีบสีขาวเล็ก ๆ จำนวน 6 กลีบที่บริเวณกลางดอกจะเป็นจุดสีแดงสด เมื่อดอกบานเต็มที่มีความกว้างดอกประมาณ 0.8 เซนติเมตร ในจั่นดอกจั่นหนึ่ง ๆ จะใช้เวลาการบานดอกนานประมาณ 10-15 วัน

จั่นดอกของจันทร์ผา แต่ละจั่นจะห้อยเป็นพวงระย้ายาว เมื่อดอกแก่และมีการผสมติดก็จะเกิดเป็นผลมีลักษณะเป็นผลกลมเล็ก ๆ ขนาดเท่ากับขนาดของผลมะแว้งผลเมื่อยังอ่อนอยู่จะมีผลเป็นสีเขียว แต่เมื่อผลแก่สุกก็จะกลายเป็นสีแดงสดและจะกลายเป็นสีดำคล้ำเมื่อ จั่นดอกของจันทร์ผา แต่ละจั่นจะห้อยเป็นพวงระย้ายาว เมื่อดอกแก่และมีการผสมติดก็จะเกิดเป็นผลมีลักษณะเป็นผลกลมเล็ก ๆ ขนาดเท่ากับขนาดของผลมะแว้งผลเมื่อยังอ่อนอยู่จะมีผลเป็นสีเขียว แต่เมื่อผลแก่สุกก็จะกลายเป็นสีแดงสดและจะกลายเป็นสีดำคล้ำเมื่อผลจันทร์ผาแก่จัด ในช่วงที่ผลจันทร์ผาเป็นสีดำคล้ำหรือแก่จัดนี้เองเป็นช่วงที่สามารถนำไปเพาะเพื่อขยายพันธุ์ ได้ในการขยายพันธุ์จันทร์ผาจะใช้วิธีปักชำก็ได้ เช่น หรือจะใช้วิธีหักต้นไปปักให้ขึ้นเป็นต้นใหม่ได้

จันทร์ผาจัดเป็นไม้กลางแจ้งที่ปัจจุบันดำลังได้รับความนิยมสูง เนื่องจากวงการไม้ประดับนิยมจะนำจันทร์ผาไปกตแต่งสวนหย่อมกันมากนั่นเอง

ในการปลูกจันทร์ผา ควรปลูกในดินทีผสมด้วยหินหรือลูกรังให้มาก ดังนั้นในหลุมที่ขุดเตรียมไว้เพื่อปลูกจันทร์ผา จึงควรมีการผสมดินปลูกใหม่ให้เหมาะสม ดังกล่าวเพราะถ้าหากปลูกจันทร์ผาโดยวิธีกรปลูกลงในดินล้วน ๆ แล้ว ยอดของจันทร์ผาที่เกิดใหม่จะลีบเล็กลงทั้งนี้เพราะจันทร์ผาเป็นไม้ที่มีรากแข็งแรงและ ชิบฝังรากลึก ทนต่อความแห้งแล้งได้ดี ดังนั้น การปลูกจันทร์ผาโดยใช้ส่วนผสมที่มีหินหรือลูกรัง จะช่วยรากของจันทร์ผาแข็งแรงและทนแล้งได้ดี ดังนั้น หากปลูกจันทร์ผาในดินล้วน ๆ รากของจันทร์ผาจะไม่แข็งแรง และมีผลทำให้ยอดลีบเล็กลงได้

จากเหตุผลดังกล่าวมานี้เอง เราจึงมักจะพบเห็นจันทร์ผาในธรรมชาติขึ้นอยู่ตามภูเขาสูง ๆ หรือตามเกาะแก่งกลางทะเลที่ห่างไกลจากฝั่ง

การขยายพันธุ์จันทร์ผา ในสมัยก่อนนิยมใช้วิธีการปักชำโดยการตัดหน่อหรือกิ่งของจันทร์ผาจากต้นเดิมแล้วนำมาปักชำ ในกะบะเพาะชำ หรือจะใช้วิธีการหักต้นจันทร์ผาไปเพาะชำ หรือปักลงในแปลงปลูกโดยตรง จันทร์ผาก็สามารถจะเจริญเติบโตเป็นต้นใหม่แต่ในปัจจุบันเกษตรกรผู้ปลูกเลี้ยง ต้องประสบปัญหาในการหาต้นพันธุ์จันทร์ผา ทั้งนี้อันเนื่องมาจากจันทร์ผาที่เกิดในธรรมชาติมักจะเกิดขึ้นในแหล่งที่เป็นป่าอนุรักษ์หรือ ในที่วนอุทยาน อุทยานแห่งชาติ ฯลฯ จึงทำให้ต้นพันธุ์จันทร์ผา เริ่มที่จะหายากขึ้น จึงได้มีการคิดค้น การเพาะขยายพันธุ์ต้นจันทร์ผาจากเมล็ดโดยศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์พืชสวนเลย จังหวัดเลย ในตอนต่อไปเราจะได้นำเสนอเรื่องราวรายละเอียดของเทคนิคและขั้นตอนในการขยาย พันธุ์จันทร์ผาจากเมล็ดกันนะคะ

เครดิตรูปภาพ
แหล่งที่มาบทความ

บทความวิทยุรายการสาระความรู้ทางการเกษตร ประจำวันจันทร์ที่ 24 กรกฎาคม 2538 เรื่อง จันทร์ผา ตอนที่1

ดวงจันทร์ เกรียงสุวรรณ นักวิชาการเกษตร 6 คณะทรัพยากรธรรมชาติ ผู้เขียน/อ่านบทความ

วันจันทร์ที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2556

ดอกจันผา บานรับลมหนาว - เรื่องราวของต้นจันผา จากบล็อกของคุณป้าหน้าใส

ดอกจันผา ดอกจันทร์ผา 

        ก่อนอื่นเลยต้องขอบอกก่อนว่าตอนแรกจะเขียนว่า "จันผา" แต่พอไปเปิดอ่านวิกีพีเดีย เห็นเขาใช้ว่า "จันทร์ผา" ก็เลยชักลังเลว่าคำที่เราคุ้นเคยจะเป็นคำที่เขียนถูกต้องแล้วหรือยัง เลยขอใช้ตามวิกีพีเดียก็แล้วกัน

       ที่บ้านมีต้นจันทร์ผาอยู่ 3 ต้น ตอนที่เอามาปลูกก็ไม่เคยรู้ว่าเค้ามีดอก เพิ่งมารู้ว่าต้นจันทร์ผามีดอกกับเค้าด้วยก็ตอนที่ไปบ้านญาติ นับเป็นครั้งแรกที่ได้เห็นดอกจันทร์ผา แถมมีคนบอกด้วยว่าถ้าบ้านใครต้นจันทร์ผาออกดอกแสดงว่าคนบ้านนั้นจะมีโชคใหญ่ ว้าว!!! ดีจัง เมื่อไรต้นที่บ้านเราจะมีดอกกับเค้าบ้างเนี่ย จะได้พิสูจน์ว่าที่เค้าบอกเล่ากันมาจะเป็นจริงมั้ย
       
         หลังจากที่แอบเข้าไปหาความรู้เกี่ยวกับต้นจันทร์ผาตามเวบต่างๆ ก็ได้รู้ว่าเค้าเป็นพืชตระกูลเดียวกับต้นวาสนา มิน่าล่ะมีดอกเป็นช่อเหมือนกันเลย ตามข้อมูลเค้าบอกว่าดอกมีกลิ่นหอม แต่ตอนที่เราไปถ่ายรูปใกล้ๆ ก็พยายามดมกลิ่นแต่ก็ไม่มีกลิ่นแต่อย่างใด สงสัยจะยังเช้าอยู่มั้ง ดอกเค้าอาจจะหอมตอนกลางคืน (อันนี้คิดเดาเอาเองค่ะ) คราวนี้ใครที่ยังไม่เคยเห็นดอกจันทร์ผา ตามมาชมกันเลยนะจ๊ะ

แหล่งที่มาบทความ 








วันเสาร์ที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2556

จันผา - ชื่อวิทยาศาสตร์ และ ลักษณะทั่วไป

จันผา
ตันจันผา จันผา

จันผา 

ลักษณะใบ และ ลำต้น ของตันจันผา

ดอกจันผา

ดอกต้นจันผา 


ชื่อพื้นเมือง จันผา จันทน์ผา จันทร์ผา
ชื่อวิทยาศาสตร์ Dracaena loureiri Gagnep
ชื่อวงศ์  AGAVACEAE
ชื่ออื่น  ลักกะจันทน์ จันแดง จันทร์แดง
ลักษณะทั่วไป  

  • ไม้ขนาดเล็กสูง 3-7 เมตร ไม่ผลัดใบ รูปทรงไม่แน่นอน ลำต้นตั้งตรง สีน้ำตาลอมเทา แตกเป็นร่องตามยาว โตช้า
  • ใบ เป็นใบเดี่ยวออกบริเวณยอดเป็นกระจุก ใบเรียวยาว ปลายแหลม ขอบใบเรียบ
  • ดอก เป็นดอกช่อ ดอกย่อยมีขนาดเล็ก สีขาว เป็นช่อพวงโต
  • ผล เป็นผลพวงคล้ายผลหมากเล็กๆ 
การขยายพันธุ์  โดยการเพาะเมล็ดหรือปักชำ
การกระจายพันธุ์  ชอบขึ้นบริเวณแสงแดดจัด ทนแล้ง ลมแรง และทนเค็ม ไม่ชอบน้ำขังแฉะ
ประโยชน์  นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ ประโยชน์ด้านสมุนไพร แก่นมีรสขมเย็น ใช้แก้ไออันเกิดจากซางและดี บำรุงหัวใจ แ้ก้เลือดออกตามไรฟัน แก้บาดแผล และใช้เป็นส่วนผสมในน้ำยาอุทัย ใช้ทำยาหอม ช่วยบำรุงหัวใจ ดับพิษไข้ 


บทความที่ได้รับความนิยม