วันพฤหัสบดีที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2556

จันผา


จันผา 

จันทร์ผา เป็นไม้ป่าประเภทหนึ่งที่เกิดขึ้นในธรรมชาติ จันทร์ผามีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่ง จันทร์แดง หรือลักจั่น

จันทร์ผาจัดเป็นไม้ยืนต้น มีความสูงประมาณ 5-7 ฟุต ลำต้นแกร่ง เปลือกนอกลำต้นมีลักษณะเกลี้ยงเป็นสีเทานวล ลักษณะลำต้นตั้งตรงเป็นลำคล้ายหมาก ใบของจันทร์ผาจะแตกใบเป้น่ช่อเฉพาะส่วนยอด แต่อาจจะมีการแตกแขนงออกจากลำต้นใหญ่ได้อีก ลักษณะใบของจันทร์ผาจะมีลักษณะใบเรียวยาว ใบจันทร์ผาจะสีเขียวเข้มปลายใบจะแหลมเป็นรูปหอก ริมใบเรียบเกลี้ยง ส่วนก้านใบจะมีลักษณะเป็นกาบหุ้มซ้อนทับอยู่รอบ ๆ ต้นขนาดของใบจะยาวประมาณ 1.5-2 ฟุต มีความกว้างของใบราว 4-5 เซนติเมตร ดอกของจันทร์ผาจะออกดอกเป็นพวาง โดยแตกออกจากโคนก้านใบคล้ายกับจั่นหมากด้วยเหตุนี้เอง จันทร์ผา จึงมีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ลักจั่น หมายถึงต้นไม้ ที่ไม่ใช้ต้นหมากหรือมะพร้าวแต่สามารถออกดอกเป็นจั่นได้อย่างจั่นหมาก หรือจั่นมะพร้าว เข้าทำนองว่าคล้ายกับการไปลักจั่นหมากหรือจั่นมะพร้าวมาออกที่ต้นของมันได้นั่นเอง

จั่นดอกของจันทร์ผาพวงหนึ่ง ๆ จะมีดอกเล็ก ๆ มากมายหลายพันดอกในแต่ดอกจะมีกลีบสีขาวเล็ก ๆ จำนวน 6 กลีบที่บริเวณกลางดอกจะเป็นจุดสีแดงสด เมื่อดอกบานเต็มที่มีความกว้างดอกประมาณ 0.8 เซนติเมตร ในจั่นดอกจั่นหนึ่ง ๆ จะใช้เวลาการบานดอกนานประมาณ 10-15 วัน

จั่นดอกของจันทร์ผา แต่ละจั่นจะห้อยเป็นพวงระย้ายาว เมื่อดอกแก่และมีการผสมติดก็จะเกิดเป็นผลมีลักษณะเป็นผลกลมเล็ก ๆ ขนาดเท่ากับขนาดของผลมะแว้งผลเมื่อยังอ่อนอยู่จะมีผลเป็นสีเขียว แต่เมื่อผลแก่สุกก็จะกลายเป็นสีแดงสดและจะกลายเป็นสีดำคล้ำเมื่อ จั่นดอกของจันทร์ผา แต่ละจั่นจะห้อยเป็นพวงระย้ายาว เมื่อดอกแก่และมีการผสมติดก็จะเกิดเป็นผลมีลักษณะเป็นผลกลมเล็ก ๆ ขนาดเท่ากับขนาดของผลมะแว้งผลเมื่อยังอ่อนอยู่จะมีผลเป็นสีเขียว แต่เมื่อผลแก่สุกก็จะกลายเป็นสีแดงสดและจะกลายเป็นสีดำคล้ำเมื่อผลจันทร์ผาแก่จัด ในช่วงที่ผลจันทร์ผาเป็นสีดำคล้ำหรือแก่จัดนี้เองเป็นช่วงที่สามารถนำไปเพาะเพื่อขยายพันธุ์ ได้ในการขยายพันธุ์จันทร์ผาจะใช้วิธีปักชำก็ได้ เช่น หรือจะใช้วิธีหักต้นไปปักให้ขึ้นเป็นต้นใหม่ได้

จันทร์ผาจัดเป็นไม้กลางแจ้งที่ปัจจุบันดำลังได้รับความนิยมสูง เนื่องจากวงการไม้ประดับนิยมจะนำจันทร์ผาไปกตแต่งสวนหย่อมกันมากนั่นเอง

ในการปลูกจันทร์ผา ควรปลูกในดินทีผสมด้วยหินหรือลูกรังให้มาก ดังนั้นในหลุมที่ขุดเตรียมไว้เพื่อปลูกจันทร์ผา จึงควรมีการผสมดินปลูกใหม่ให้เหมาะสม ดังกล่าวเพราะถ้าหากปลูกจันทร์ผาโดยวิธีกรปลูกลงในดินล้วน ๆ แล้ว ยอดของจันทร์ผาที่เกิดใหม่จะลีบเล็กลงทั้งนี้เพราะจันทร์ผาเป็นไม้ที่มีรากแข็งแรงและ ชิบฝังรากลึก ทนต่อความแห้งแล้งได้ดี ดังนั้น การปลูกจันทร์ผาโดยใช้ส่วนผสมที่มีหินหรือลูกรัง จะช่วยรากของจันทร์ผาแข็งแรงและทนแล้งได้ดี ดังนั้น หากปลูกจันทร์ผาในดินล้วน ๆ รากของจันทร์ผาจะไม่แข็งแรง และมีผลทำให้ยอดลีบเล็กลงได้

จากเหตุผลดังกล่าวมานี้เอง เราจึงมักจะพบเห็นจันทร์ผาในธรรมชาติขึ้นอยู่ตามภูเขาสูง ๆ หรือตามเกาะแก่งกลางทะเลที่ห่างไกลจากฝั่ง

การขยายพันธุ์จันทร์ผา ในสมัยก่อนนิยมใช้วิธีการปักชำโดยการตัดหน่อหรือกิ่งของจันทร์ผาจากต้นเดิมแล้วนำมาปักชำ ในกะบะเพาะชำ หรือจะใช้วิธีการหักต้นจันทร์ผาไปเพาะชำ หรือปักลงในแปลงปลูกโดยตรง จันทร์ผาก็สามารถจะเจริญเติบโตเป็นต้นใหม่แต่ในปัจจุบันเกษตรกรผู้ปลูกเลี้ยง ต้องประสบปัญหาในการหาต้นพันธุ์จันทร์ผา ทั้งนี้อันเนื่องมาจากจันทร์ผาที่เกิดในธรรมชาติมักจะเกิดขึ้นในแหล่งที่เป็นป่าอนุรักษ์หรือ ในที่วนอุทยาน อุทยานแห่งชาติ ฯลฯ จึงทำให้ต้นพันธุ์จันทร์ผา เริ่มที่จะหายากขึ้น จึงได้มีการคิดค้น การเพาะขยายพันธุ์ต้นจันทร์ผาจากเมล็ดโดยศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์พืชสวนเลย จังหวัดเลย ในตอนต่อไปเราจะได้นำเสนอเรื่องราวรายละเอียดของเทคนิคและขั้นตอนในการขยาย พันธุ์จันทร์ผาจากเมล็ดกันนะคะ

เครดิตรูปภาพ
แหล่งที่มาบทความ

บทความวิทยุรายการสาระความรู้ทางการเกษตร ประจำวันจันทร์ที่ 24 กรกฎาคม 2538 เรื่อง จันทร์ผา ตอนที่1

ดวงจันทร์ เกรียงสุวรรณ นักวิชาการเกษตร 6 คณะทรัพยากรธรรมชาติ ผู้เขียน/อ่านบทความ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม